เรื่องที่จะศึกษา
- ความหมายของไบออส
- การตั้งค่าในไบออส
- รายละเอียดของเมนูต่างๆ
- การปรับปรุงไบออส
- การแบ่งพาร์ติชันด้วย FDISK
- อธิบายความหมายและความสำคัญของไบออสได้
- บอกวิธีในการตั้งค่าในไบออสได้
- บอกรายละเอียดเมนูต่างๆ ในไบออสได้
- บอกขั้นตอนวิธีในการปรับปรุงไบออสได้
- สามารถตั้งค่าในไบออส และ การแบ่งพาร์ติชันด้วย FDISK ได้
ความหมายของไบออส
BIOS คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรในการทำงานของคอมพิวเตอร์
BIOS ย่อมาจาก Basic Input Output System ไบออส คือโปรแกรมเล็กๆที่ถูกเก็บไว้ในชิป ROM ทำหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดและมีส่วนสำคัญมากในการบู๊ตเครื่อง เพราะไบออสจะคอยตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมดหากอุปกรณ์ตัวไหนมีการทำงานผิดพลาด ไบออสก็จะรายงานหรือส่งสัญญาณเสียงให้เราได้ทราบทันที ไบออสจะทำงานหลังจากมีการเปิดสวิทซ์ ทันที ที่มีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยจะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์ เช่น harddisk, disk drive,cd-rom, ram เป็นต้น
ไบออส (Basic Input Output System) เป็นโปรแกรม ขนาดเล็กที่อยู่ในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบการทำงานของเครื่องที่ทำงานอยู่ในระดับต่ำกว่าระบบปฏิบัติการโดยบรรจุอยู่ในชิป ROM โดยจะมีฟังก์ชันควบคุมการทำงานต่างๆที่จำเป็นต่อการบู๊ตระบบ ถ้าไบออสเสียหายเครื่องจะบู๊ตไม่ได้
ภาพแสดงลักษณะของไบออส
- ในสมัยก่อนเมื่อประกอบเครื่อง เสร็จแล้วทำการบู๊ตเครื่องจะไม่สามารถบู๊ตได้ในทันที่จะต้องกำหนดค่าในไบออสก่อนว่ามีสื่อบันทึกข้อมูลอะไรอยู่ในเครื่องบ้างได้แก่ฟล็อบปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ ไดร์ฟซีดีรอม แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไบออสให้สามารถค้นหาและตรวจสอบอุปกรณ์ที่ติดตั้งโดยอัตโนมัติ
- ดังนั้นเมื่อเราประกอบเครื่องเสร็จแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำการปรับแต่งไบออสอีกต่อไปเครื่องจะสามารถบู๊ต และทำงานได้ตามปกติ แต่ในบางกรณีที่เราติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมและเครื่องทำงานไม่ถูกต้อง หรือ ระบบไม่เสถียรเท่าที่ควรเราก็อาจจะต้องทำการปรับแต่งไบออสเพื่อแก้ไขให้ระบบทำงานได้ดีหรือเร็วขึ้นได้
จุดมุ่งหมายในการปรับแต่งไบออส หากเราต้องการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานตามปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องปรับแต่งไบออสในเครื่องแล้วแต่ถ้าต้องการให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับแต่งไบออสจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1.ปรับแต่งเครื่องให้ทำงานอย่างมีเสถียรภาพ บางครั้งถ้าปรับแต่งไบออสไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เครื่องแฮงค์บ่อยๆ เช่น ปรับชนิด และ ความเร็วของแรมไว้ไม่ถูกต้อง
2.แก้ปัญหาฮาร์ดแวร์ต่างๆ ซึ่งบางครั้งเราติดตั้งเพิ่ม อาจจะทำงานเข้ากับเครื่องไม่ได้ เช่น เครื่องพิมพ์รุ่นเก่าอาจจะไม่สนับสนุนการถ่ายโอนข้อมูลต่างๆทางพอร์ตขนาน
3.ปรับแต่งให้เครื่องทำงานได้เร็วขึ้น
หน้าที่หลักของไบออส
หน้าจอการทำงานของไบออส เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์และรายงานผลการตรวจสอบให้เราทราบว่าอุปกรณ์ในเครื่องยังทำงานเป็นปกติดีหรือไม่ ดังได้สรุปดังนี้ ตรวจสอบอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อเครื่องทุกเครื่อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ การ์ดแสดงผล เมาส์ คีย์บอร์ด และหน่วยความจำหลัก หากพบว่ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งทำงานไม่ถูกต้องไบออสจะแจ้งให้ทราบโดยส่งเสียง ปิ๊บ หรือแสดงข้อความแจ้งข้อผิดพลาดออกมาทางหน้าจอ
ไบออสของ Award
เป็นไบออสที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีการออกแบบให้ใช้งานง่าย Award เป็นผู้ผลิตไบออส สำหรับจำหน่ายให้กับผู้ผลิตเมนบอร์ดอย่างเดียว
ไบออสของ AMI
AMI เป็นผู้ผลิตไบออสที่เป็นผู้เริ่มให้ใช้เมาส์ในการคลิกปรับแต่งค่าได้ทำให้สะดวกในการปรับแต่งและต่อมาได้มีการปรับปรุงรูปแบบการใช้งาน จนมีความคล้ายกับไบออสของAward
ไบออสของ Phoenix
Phoenix เป็นไบออสอีกยี่ห้อหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันพอสมควร แต่อยู่ในหมู่ผู้ผลิตเครื่องมียี่ห้อ โดยไบออสของ Phoenix จะไม่มีตัวเลือกสำหรับการปรับแต่งมากเท่าไหร่ เพราะผู้ผลิตเครื่องได้กำหนดค่าไบออสมาจากโรงงานแล้วในปัจจุบัน Phoenix ได้รวมกิจการกับ Award
การแบ่งพาร์ทิชั่นด้วย FDisk
การแบ่งพาร์ทิช่ัน คือ การแบ่งส่วนฮาร์ดดิสออกเป็นส่วนย่อย ๆ ตามขนาดที่เราต้องการ ก่อนขั้นตอนการฟอร์แมตเพื่อกำหนดให้ใช้งานได้ในแต่ละ Drive โดยจะทำให้เครื่องของเรามีไดร์ฟ D และ E เพิ่มเติมจากเดิมที่มีเพียงแค่ไดร์ฟ Cเท่านั้น เช่น ฮาร์ดดิสก์ ขนาดเต็ม 10 GB อาจแบ่งออกเป็น Drive C: ขนาด 6 GB เพื่อทำการลง Windows และ
โปรแกรมทำงานต่าง ๆ และทำการแบ่ง Drive D: ให้มีขนาด 4 GB ไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรืองานที่สำคัญ ๆ
การแบ่งพาร์ติชั่นเรา จะแบ่งออกตามชนิดของ FAT ต่าง ๆ ได้ดังนี้
FAT16 เป็นการจัดพาร์ทิชั่นที่ใช้ใน Dos, Windows 3.1 และ Windows 95 รวมทั้ง Windows 98, Windows Me, Windows 2000, Windows NT, Windows XP หรือ OS/2 ข้อเสียของระบบไฟล์นี้คือ ไม่ สามารถรองรับพาร์ติชันที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 GB ได้ จึงไม่เหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลปริมาณมาก
FAT 32 เป็นการจัดพาร์ทิชั่นที่ใช้่ใำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่มีความจุของฮาร์ดดิสก์มาก ได้แก้ปัญหาข้อจำกัดของ FAT 16 สามารถรองรับขนาดของพาร์ติชั่นได้จาก 512 KB ไปจนถึง 64 GB ต่อ 1 พาร์ติชั่น
NTFS เป็นการจัดพาร์ติชั่นสำหรับ Windows NT และ XP
ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่มักมีขนาดมากกว่า 2 GB อยู่แล้ว การแบ่งพาร์ทิชั่นจึงต้องใช้การแบ่งแบบ FAT 32 ซึ่งจะสามารถใช้งานได้ในระบบ Windows 95 OSR2 หรือ Windows 98 ขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้นผู้อ่านควรจำไว้ว่าคำสั่ง Fdisk ที่มากับ Windows 95 เป็นการแบ่งแบบ FAT 16 เท่านั้นไม่สามารถแบ่งเป็น FAT 32 เหมือนใน Windows 98 ได้
วิธีการแบ่งพาร์ทิชั่น
1. ขั้นแรก ต้องสร้างพาร์ติชั่นที่เป็น Primary DOS Partition ก่อน โดยถ้าหากจะแบ่งเป็นไดร์ฟเดียว ก็เลือกตรงนี้ให้มีขนาดเป็น 100% ได้เลย แต่ถ้าหากต้องการแบ่งให้เป็นหลาย ๆ ไดร์ฟ ก็กำหนดขนาดไปตามต้องการ
2. ต่อไป ต้องสร้าง Extended DOS Partition โดยกำหนดขนาดให้เท่ากับพื้นที่ ที่เหลือจากข้อ 1. ครับ ตรงนี้จะยังไม่ใช่ไดร์ฟหรือพาร์ทิชั่นตัวที่สอง แต่จะเป็นการกำหนดพื้นที่สำหรับ พาร์ทิชั่นตัวที่สองหรือตัวถัดไปเท่านั้น
3. ทำการสร้าง Logical DOS Drive(s) ขึ้นมาอีกครั้ง (ซึ่งจะใช้พื้นที่ของ Extend DOS Partition ที่ได้สร้างไว้แล้ว) โดยตรงนี้จะกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นที่ต้องการสำหรับไดร์ฟถัดไป เช่นอาจจะกำหนด ให้ใช้พื้นที่ที่เหลืออยู่ทั้งหมด เป็นอีกไดร์ฟหนึ่ง ก็เลือกขนาดเป็น 100% แต่ถ้าหากต้องการแบ่งย่อยขนาดลงไป ก็ต้องสร้าง Logical DOS Drive(s) ให้มีขนาดย่อย ๆ ตามต้องการ
โปรแกรมทำงานต่าง ๆ และทำการแบ่ง Drive D: ให้มีขนาด 4 GB ไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรืองานที่สำคัญ ๆ
การแบ่งพาร์ติชั่นเรา จะแบ่งออกตามชนิดของ FAT ต่าง ๆ ได้ดังนี้



ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่มักมีขนาดมากกว่า 2 GB อยู่แล้ว การแบ่งพาร์ทิชั่นจึงต้องใช้การแบ่งแบบ FAT 32 ซึ่งจะสามารถใช้งานได้ในระบบ Windows 95 OSR2 หรือ Windows 98 ขึ้นไปเท่านั้น ดังนั้นผู้อ่านควรจำไว้ว่าคำสั่ง Fdisk ที่มากับ Windows 95 เป็นการแบ่งแบบ FAT 16 เท่านั้นไม่สามารถแบ่งเป็น FAT 32 เหมือนใน Windows 98 ได้
วิธีการแบ่งพาร์ทิชั่น
1. ขั้นแรก ต้องสร้างพาร์ติชั่นที่เป็น Primary DOS Partition ก่อน โดยถ้าหากจะแบ่งเป็นไดร์ฟเดียว ก็เลือกตรงนี้ให้มีขนาดเป็น 100% ได้เลย แต่ถ้าหากต้องการแบ่งให้เป็นหลาย ๆ ไดร์ฟ ก็กำหนดขนาดไปตามต้องการ
2. ต่อไป ต้องสร้าง Extended DOS Partition โดยกำหนดขนาดให้เท่ากับพื้นที่ ที่เหลือจากข้อ 1. ครับ ตรงนี้จะยังไม่ใช่ไดร์ฟหรือพาร์ทิชั่นตัวที่สอง แต่จะเป็นการกำหนดพื้นที่สำหรับ พาร์ทิชั่นตัวที่สองหรือตัวถัดไปเท่านั้น
3. ทำการสร้าง Logical DOS Drive(s) ขึ้นมาอีกครั้ง (ซึ่งจะใช้พื้นที่ของ Extend DOS Partition ที่ได้สร้างไว้แล้ว) โดยตรงนี้จะกำหนดขนาดของพาร์ติชั่นที่ต้องการสำหรับไดร์ฟถัดไป เช่นอาจจะกำหนด ให้ใช้พื้นที่ที่เหลืออยู่ทั้งหมด เป็นอีกไดร์ฟหนึ่ง ก็เลือกขนาดเป็น 100% แต่ถ้าหากต้องการแบ่งย่อยขนาดลงไป ก็ต้องสร้าง Logical DOS Drive(s) ให้มีขนาดย่อย ๆ ตามต้องการ
ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าฮาร์ดดิสก์ขนาด 20G. ต้องการแบ่งเป็น 3 พาร์ติชั่น โดยมีขนาดเป็น 5+5+10 จากข้อ 1.ก็ต้องสร้าง Primary DOS Partition ขึ้นมาขนาด 5 G ก่อน แล้วค่อยสร้าง Extended DOS Partition ขนาด 15 G ที่เหลือ จากนั้นค่อยทำการสร้างเป็น Logical DOS Drive(s) โดยกำหนดให้มีขนาด 5G. และ 10G. ตามลำดับ
การใช้คำสั่ง Fdisk นั้นเป็นคำสั่งที่มาจากแผ่น Startup disk เราสามารถสร้างได้ Windows 98 จากนั้นเราทำการใส่แผ่นไปที่ไดร์ฟ A: พร้อมเปิดเครื่อง ๆ จะทำการอ่านแผ่นแล้วเข้าไปที่ A:\ เราก็ทำการพิมพ์คำสั่ง Fdisk ลงไปจากนั้นทำการกดปุ่ม Enter เมื่อ Enter เข้าไปแล้วจะปรากฎดังรูป
การใช้คำสั่ง Fdisk นั้นเป็นคำสั่งที่มาจากแผ่น Startup disk เราสามารถสร้างได้ Windows 98 จากนั้นเราทำการใส่แผ่นไปที่ไดร์ฟ A: พร้อมเปิดเครื่อง ๆ จะทำการอ่านแผ่นแล้วเข้าไปที่ A:\ เราก็ทำการพิมพ์คำสั่ง Fdisk ลงไปจากนั้นทำการกดปุ่ม Enter เมื่อ Enter เข้าไปแล้วจะปรากฎดังรูป










- Primary DOS Partition เป็นพาร์ติชันหลักของฮาร์ดดิสก์
- Extended DOS Partition เป็นพาร์ติชันถัดไปของฮาร์ดดิวก์
- Logical DOS Drive(s) จะเป็นการกำหนดขนาดต่าง ๆ ที่อยู่ใน Extended DOS Partition อีกที ซึ่งสามารถกำหนดการสร้างได้หลาย ๆ Drive ตามต้องการ
- Non-DOS Partition เป็นพาร์ติขันในระบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ระบบของ DOS
ในการลบพาร์ทิชั่นนั้นเราต้องลบห้องในสุดก่อนแล้วไล่ลำดับกันจนถึงห้องใหญ่สุด ในความหมายก็คือ ก่อนอื่นเราต้องทำการลบจาก Logical DOS Drive ก่อนต่อมาลบที่ Extended Dos Partition และสุดท้ายทำการลบที่ Primary Dos Partition ตามลำดัีบจนหมด























ที่มา : http://tenews40.wordpress.com/2012/07/30/a-a-a-bios-a-2/
: http://www.northcm.ac.th/~tinnakorn/2552/page2.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น